ประวัติสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ 345 วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ได้อนุมัติให้บูรณาการสำนักงานยุวกาชาด และ สำนักงานอาสากาชาด
รวมเป็นสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด โดยมีการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนงานและโครงสร้างอัตรากำลังใหม่
และกำหนดให้สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด เป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการอาสาสมัครของสภากาชาดไทย
เพื่อก้าวไปสู่ One Red Cross One Volunteer ภายใต้การมีฐานข้อมูลและระบบอาสาสมัครที่เป็นระบบเดียวกัน
มีความเข้มแข็งและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนภารกิจของสภากาชาดไทย
สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามภารกิจของสำนักงานที่สอดคล้องกับนโยบายของสภากาชาดไทย
เพื่อให้ประชาชน ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ประสบภัยพิบัติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยการพัฒนาระบบอาสาสมัครและการดำเนินงานของยุวกาชาด
และอาสาสมัครกาชาดให้ดียิ่งขึ้นสืบไปสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด เป็นหน่วยงานที่สร้างและพัฒนา “อาสาสมัคร” ให้เป็น “อาสาสมัครที่พึ่งพาได้”
ให้แก่สภากาชาดไทย ตั้งแต่อาสาสมัครวัยเยาวชนจนถึงวัยเกษียณ เป็นการรักษาและสืบทอดความเป็น “จิตอาสา” ตลอดชีวิตของอาสาสมัคร
นอกจากนี้เมื่อตระหนักถึงพลังของอาสาสมัคร ทั้งในด้านความคิด ความสร้างสรรค์ ความรู้สมัยใหม่ ความสามารถทางเทคโนโลยี
การปรับตัวและการเปิดรับกับความเป็นสากล นับว่า สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่ง
ในการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครให้แก่สภากาชาดไทย ในระยะยาวต่อไปได้ ซึ่งที่ผ่านมา
โดยแบ่งส่วนงานออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
- ฝ่ายจัดหาและจัดสรรยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด
- ฝ่ายพัฒนายุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด
- ฝ่ายสนับสนุนและสื่อสารสัมพันธ์ ยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด
- ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด ส่งเสริมการทำงานในการนำพลังของอาสาสมัครมาใช้ให้ได้อย่างเต็มที่
เพื่อให้เกิดการการขับเคลื่อนที่สอดประสานกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถสร้างความยั่งยืนของงาน “จิตอาสา”
ให้แก่สังคมและชุมชนผ่านคุณค่าของความเป็น “จิตอาสาสภากาชาดไทย” สู่การเป็น “อาสาสมัครกาชาด”
ประวัติสำนักงานอาสากาชาด
พ.ศ.2483 จัดตั้งกองอาสากาชาด
28 พฤษภาคม 2483 ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการสภากาชาดไทย ให้จัดตั้ง “กองอาสากาชาด” ขึ้น โดยมีหน้าที่อบรมสมาชิกอาสากาชาดไว้เพื่อให้ทำการอุปการสงเคราะห์โดยทันท่วงที และมีประสิทธิภาพในเวลาฉุกเฉินแห่งสงคราม หรือเหตุการณ์สาธารณภัยพินาศ และช่วยเป็นกำลังดำเนินงานของสภากาชาดไทยในเวลาปกติ
1 สิงหาคม 2483 เปิดรับสมัครบุคคลเข้าเป็นอาสากาชาดครั้งแรก
จึงกำหนดให้ 1 สิงหาคม เป็นวันสถาปนาของกองอาสากาชาด
พ.ศ.2484 สงครามอินโดจีน
พ.ศ.2508 องค์สภานายิกา
พ.ศ.2513 พระราชทานนามสุทธาสา
23 มีนาคม 2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดตึกสุทธาสา กองอาสา
พ.ศ.2521 องค์อุปนายิกา
พ.ศ.2537 องค์อุปถัมภิกา
พ.ศ.2539 สำนักงานอาสากาชาด
พ.ศ.2544 สายธารแห่งน้ำพระทัย
พ.ศ.2563 "80 ปี อาสากาชาด"
ประวัติสำนักงานยุวกาชาด
พ.ศ.2465 กำเนิดอนุสภากาชาดสยาม
พ.ศ.2485 กองอนุกาชาด
พ.ศ.2521 กองยุวกาชาด
พ.ศ.2522 เราคือยุวกาชาด
ได้มีการปรับเปลี่ยนหัวหน้ากอง เป็น ผู้อำนวยการกองยุวกาชาด กรมพลศึกษา และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองยุวกาชาดสภากาชาดไทย และแบ่งยุวกาชาด ออกเป็น 2 ประเภท คือ ยุวกาชาดในสถานศึกษา และ ยุวกาชาดนอกโรงเรียน ได้มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบยุวกาชาดจาก เสื้อคอปกแขนยาวสีขาว ผ้าผูกคอสีน้ำเงิน และกระโปรงสีน้ำเงิน มาเป็น เครื่องแบบยุวกาชาดสีฟ้าอมเทาที่ได้สวมใส่อยู่ในปัจจุบัน
พ.ศ.2540 สำนักงานยุวกาชาด
พ.ศ.2543 ชมรมอาสายุวกาชาด
พ.ศ. 2546 คืนถิ่นสภากาชาดไทย
รัฐบาลได้ปฏิรูประบบราชการโดยการปรับปรุงโครงสร้าง ของกระทรวง ทบวง กรมใหม่ ทำให้สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน ย้ายที่ทำการไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ได้ย้ายที่ทำการกลับมาอยู่ที่ ณ ตึกจิรกิติ สภากาชาดไทย โดยได้แบ่งการบริหารแบบชัดเจน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะดูแลเยาวชนในระบบการศึกษา อายุ 7 – 18 ปี ส่วนสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ดูแลเยาวชนในและนอกระบบการศึกษารวมถึงระดับอุดมศึกษาอายุ 15 – 25 ปี
โดยสภากาชาดไทยแต่งตั้ง รศ. นพ.พินิจ กุลละวณิชย์ เป็นผู้อำนวยการที่เป็นบุคลากรของสภากาชาดไทยคนแรกของสำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย