ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ประสบภัยพิบัติ ตาม พันธกิจ 4 ข้อ ที่ครอบคลุมและขยายมากขึ้น สอดรับกับวิสัยทัศน์ของสภากาชาดไทย
ซึ่งองค์กรสาธารณกุศลของประเทศที่ดำเนินการเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการกาชาดสากล มุ่งเน้นการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนและผู้ด้อยโอกาส
ด้วยจิตสาธารณะให้มีสุขภาวะที่ดี พร้อมสำหรับวิถีในศตวรรษที่ 21
โดยหนึ่งในการพัฒนางานด้านอาสาสมัครนั้น คือ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด
ให้มีความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมจิตอาสา เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้ด้อยโอกาส
กลุ่มเปราะบางทางสังคมและผู้ประสบภัยพิบัติ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สอดคล้องกับพันธกิจของสภากาชาดไทยในปัจจุบัน
โดยสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด มีหลักสูตรการอบรม ดังนี้
- 1. การอบรมวิทยากรยุวกาชาด
- 2. การอบรมวิทยากรยุวกาชาด เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- 3. การอบรมวิทยากรยุวกาชาด เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ
- 4. การอบรมที่ปรึกษาชมรมอาสายุวกาชาด
- 5. การอบรมผู้อำนวยการฝึกการอบรมอาสายุวกาชาด
การอบรมวิทยากรยุวกาชาด เป็นหลักสูตรที่สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดดำเนินการร่วมกับหน่วยงานพัฒนาเยาวชนภาคีเครือข่าย เพื่อเป็นเจ้าภาพร่วมในการดำเนินการอบรมให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมยุวกาชาดและอาสายุวกาชาดจากหน่วยงานพัฒนาเยาวชนต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการกาชาด ยุวกาชาด การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนกระบวนการและพิธีการในการอบรม การอบรมหลักสูตรนี้ นอกจากผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาดังกล่าวแล้ว ยังได้รับการฝึกทักษะ
การเป็นวิทยากรยุวกาชาด เมื่อสำเร็จการอบรมแล้วสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรยุวกาชาดถ่ายทอดเนื้อหาวิชาความรู้และนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปเผยแพร่อบรมให้กับเยาวชนในความรับผิดชอบ เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้เป็นอาสายุวกาชาดที่มีจิตอาสาพึ่งพาได้ มีบุคลิกภาพที่ Smart Strong Samart
มีความสมัครใจและเต็มใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดย
ไม่หวังผลตอบแทน เป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนพันธกิจของสภากาชาดไทยต่อไป
สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือ IFRC ได้กำหนดให้ทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนกันยายนของทุกปีเป็นวันปฐมพยาบาลโลก เพื่อให้ประชาชนของแต่ละประเทศและประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการปฐมพยาบาล ด้วยเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บในเบื้องต้น ซึ่งช่วยลดความสูญเสียและป้องกันความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึง สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด เป็นหนึ่งในหน่วยงานของสภากาชาดไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนางานด้านอาสาสมัครเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางทางสังคม จึงดำเนินการจัดการอบรมวิทยากรยุวกาชาด เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานพัฒนาเยาวชนในทุกสังกัด ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีทักษะความชำนาญในการปฐมพยาบาลได้อย่างถูกต้อง สามารถปฏิบัติหน้าที่วิทยากรยุวกาชาดในการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวไปสู่เยาวชนในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เยาวชนเป็นอาสายุวกาชาดมีความรู้และความสามารถในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมส่งต่อไปสู่การเป็นอาสาสมัครกาชาดที่พึ่งพาได้ของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย คือ มีประชากรอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ10 ของประชากรทั้งหมด การเพิ่มขนาดและสัดส่วนประชากรสูงอายุของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดจึงจัดให้มีการอบรมหลักสูตรวิทยากรยุวกาชาด เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ขึ้น เพื่ออบรมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานพัฒนาเยาวชนต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงมีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องการดูแลผู้สูงอายุให้กับเยาวชนในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามมาตรฐานของสภากาชาดไทยที่กำหนดไว้ได้ อันจะเป็นการสร้างให้เยาวชนและส่งต่อเยาวชนให้เป็นอาสายุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดที่มีความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุ สามารถที่จะดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของตนเองได้ และเป็นอาสาสมัครที่จะดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนได้ด้วย
เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อให้ที่ปรึกษาชมรมอาสายุวกาชาดได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมอาสายุวกาชาด
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของครูอาจารย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากผู้บริหารสถานศึกษาให้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาชมรมอาสายุวกาชาด
มีความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมตามบันได 5 ขั้นของการเป็นที่ปรึกษาชมรมอาสายุวกาชาดยุคใหม่ คือ ขับเคลื่อนชมรมฯ
ระดมอาสาฯ นำพาอบรม พร้อมลงกิจกรรม นำคู่ไอที เนื่องจากชมรมอาสายุวกาชาดที่ได้รับการอนุมัติจัดตั้งชมรม
จากสำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดนั้น ควรมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยอาสายุวกาชาด (นักเรียน นิสิต นักศึกษา) ซึ่งเป็นสมาชิกภายในชมรม
สามารถสร้างกิจกรรมขึ้นเองภายในชมรมหรือนำสมาชิกในชมรมไปร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอกก็ได้
ดังนั้น ที่ปรึกษาชมรมอาสายุวกาชาดจึงเปรียบเสมือนผู้คอยให้คำปรึกษาแก่สมาขิกในชมรม
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและดำเนินงานของชมรมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การอบรมนี้เป็นหลักสูตรที่สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาด สภากาชาดไทย
ดำเนินการอบรมให้กับผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารของหน่วยงานพัฒนาเยาวชนภาคีเครือข่าย
ซึ่งมีการจัดตั้งชมรมอาสายุวกาชาดหรือมีการดำเนินกิจกรรมอาสายุวกาชาด เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของการกาชาด ยุวกาชาด ข้อบังคับสภากาชาดไทย
ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้บริหารควรรู้และมีความเข้าใจ ในหลักสูตรนี้ยังได้เพิ่มเติมในส่วนแนวทางการปฏิบัติงานด้านอาสายุวกาชาด
การบริหารโครงการอบรมอาสายุวกาชาด การฝึกประสบการณ์เพื่อการวางแผนการปฏิบัติตนในบทบาทของผู้อำนวยการฝึกอบรมอาสายุวกาชาด
ผู้สำเร็จการอบรมในหลักสูตรนี้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมได้อย่างถูกต้องและภาคภูมิ
รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหน่วยงาน อื่น ๆ ต่อไปด้วย
ผู้สำเร็จการอบรมผู้อำนวยการฝึกยังมีสิทธิได้รับเข็มผู้อำนวยการฝึกอบรมอาสายุวกาชาด
เมื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมอาสายุวกาชาดไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ภายใน 3 ปี
หลังสำเร็จการอบรม โดยสามารถส่งหลักฐานรับรองการปฏิบัติงานมายัง
สำนักงานยุวกาชาดและอาสาสมัครกาชาดเพื่อขอพิจารณารับเข็มได้